เปิดต่อไม่รอแล้วน้าจร้า!!!!! กับ ตำนานผ้ายันต์ฯ โบราณ แบบกระดาษ (แบบใหญ่) ขององค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอู ที่ “ห่อนั้งบู๊เสี่ยโกวเบี่ย” “บู๊เสี่ยเบี่ย” ศาลเจ้าพ่อกวนอู บริเวณชุมชนชาวตลาดสมเด็จเจ้าพระยา คลองสาน
- รายละเอียด
- เขียนโดย BCCChannel.net
- เผยแพร่เมื่อ: วันพฤหัสบดี, 20 กุมภาพันธ์ 2568 13:02
เปิดต่อไม่รอแล้วน้าจร้า!!!!! กับ ตำนานผ้ายันต์ฯ โบราณ แบบกระดาษ (แบบใหญ่) ขององค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอู ที่ “ห่อนั้งบู๊เสี่ยโกวเบี่ย” “บู๊เสี่ยเบี่ย” ศาลเจ้าพ่อกวนอู บริเวณชุมชนชาวตลาดสมเด็จเจ้าพระยา คลองสาน
“ผ้ายันต์ฯ โบราณ แบบใหญ่”
* สวย สมบูรณ์แบบสุดๆ เก่าเก็บ ต้องมีกว่า 30-40 กว่าปีขึ้นไป ฟันธง!
* เห็นผ้ายันต์ฯ กระดาษ ผืนดังกล่าวนี้ (แบบใหญ่) มาตั้งแต่เจ้าตัว คือ ผมเอง มิสเตอร์เฮา ยังอยู่ในช่วงวัยเยาว์ พอเริ่มจำความได้แล้วนะจร้า
* เทียบขนาดกันให้เห็นชัดๆ เลยนะจร้า ระหว่าง ผ้ายันต์ฯ โบราณ แบบกระดาษ ทั้งแบบใหญ่ และแบบเล็ก (ที่เคยนำลงโชว์ในช่วงหลายปีก่อนนะจร้า)
* Hint สมัยก่อน ผ้ายันต์ฯ โบราณ แบบใหญ่ สำคัญมาก เพราะเอาไว้แปะหน้าบ้าน หรือ เลี่ยมกรอบตั้งบูชาบนหิ้งฯ ทุกๆ ปี มีการเปลี่ยนใหม่ (เผา) และแปะใหม่ หรือนำมาประทับตราฯ ที่ภายใน “ห่อนั้งบู๊เสี่ยโกวเบี่ย” “บู๊เสี่ยเบี่ย” ศาลเจ้าพ่อกวนอู บริเวณชุมชนชาวตลาดสมเด็จเจ้าพระยา คลองสาน (ที่จำได้ บ้านผมส่วนใหญ่จะนำไปที่ศาลเจ้าฯ ช่วงเทศกาลตรุษจีน เพื่อประทับตราฯ (หลังจากองค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอูฯ เสด็จขึ้นสวรรค์ และเสด็จลงจากสวรรค์นะครับผม)
* ขณะที่ผ้ายันต์ฯ โบราณ แบบเล็ก (กระดาษ) เอาไว้เผาทำน้ำมนต์ สะเดาะห์เคราะห์ หรือ พกติดตัว กราบขอให้องค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอู ที่ “ห่อนั้งบู๊เสี่ยโกวเบี่ย” “บู๊เสี่ยเบี่ย” ศาลเจ้าพ่อกวนอู บริเวณชุมชนชาวตลาดสมเด็จเจ้าพระยา คลองสาน กราบช่วยปอห่อคุ้มครองฯ นะจร้า กราบสาธุ สาธุ สาธุ ด้วยนะครับผม
* สมัยก่อน ครอบครัวเรานิยมพกผ้ายันต์ฯ หลากหลายรุ่น และหลากหลายแบบที่ออกโดยองค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอู ในยุคของอาเหล่าแปะ หรือ “จับเกี๊ยมแปะ” ที่ “ห่อนั้งบู๊เสี่ยโกวเบี่ย” “บู๊เสี่ยเบี่ย” ศาลเจ้าพ่อกวนอู บริเวณชุมชนชาวตลาดสมเด็จเจ้าพระยา คลองสาน พกแล้วรู้สึกอบอุ่นใจเป็นที่สุดเลยครับผม
(ตรงนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล กราบได้โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน รับฟัง และพิจารณาข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง กราบขอบพระคุณเป็นที่สุดเลยนะครับผม มิสเตอร์เฮา ครับผม)
* ไม่เชื่อผมไม่เป็นไร แต่ผมกราบอยากขอให้เชื่อจิตวิญญาณ และจิตใต้สำนึกของผม แค่นี้ก็พอครับผม อิอิ!
วันนี้มาต่อกันที่การลงโชว์รูปผ้ายันต์ฯ โบราณ แบบใหญ่ เปรียบเทียบขนาดให้เห็นกันชัดๆ เลยทีเดียวว่า ในช่วงสมัยก่อนนั้น ผ้ายันต์ฯ โบราณ แบบกระดาษขององค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอู ที่ “ห่อนั้งบู๊เสี่ยโกวเบี่ย” “บู๊เสี่ยเบี่ย” ศาลเจ้าพ่อกวนอู บริเวณชุมชนชาวตลาดสมเด็จเจ้าพระยา คลองสาน มีแบบใดบ้าง มีให้เลือกทั้งแบบใหญ่ และแบบเล็ก
(ตามที่เคยกราบเรียนว่า แบบเล็กตอนหลังบล็อกผ้ายันต์ฯ เกิดการชำรุด หรือ เสียหาย หรือ หาย ส่งผลให้ทางศาลเจ้าฯ มีการยกเลิกการจัดทำผ้ายันต์ฯ กระดาษ แบบเล็ก ไปเลยในช่วงที่ผ่านมา)
“ผ้ายันต์ฯ โบราณ แบบเล็ก”
“แต่ผมยังพอโชคดีที่ได้มีการโอกาสเก็บรักษาตำนานผ้ายันต์ฯ โบราณ แบบเล็ก (แบบกระดาษ) ได้ 1 ผืน และในช่วงที่ผ่านมา ได้ถือโอกาสจัดสร้างผ้ายันต์ฯ แบบเล็ก (แบบกระดาษ) ในแบบย้อนยุค เป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับผม
(หมายเหตุ : ผมเรียกผ้ายันต์ฯ โบราณ แบบเล็ก (แบบกระดาษ) ว่า เป็น ผ้ายันต์ “ปออิ๋วเผ่งอัง” หรือ “ปออิ๋วเผ่งอังฮู้” หรือเรียกอีกชื่อว่า “คุ้มครองปลอดภัยฮู้” หรือ “ผ้ายันต์คุ้มครองปลอดภัย” หรือ ผ้ายันต์ฯ กระดาษ แบบเล็ก ขององค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอู ที่ “ห่อนั้งบู๊เสี่ยโกวเบี่ย” “บู๊เสี่ยเบี่ย” ศาลเจ้าพ่อกวนอู บริเวณชุมชนชาวตลาดสมเด็จเจ้าพระยา คลองสาน ในแบบย้อนยุค (แบบผ้าสีเหลือง) สวยถูกใจมากๆ เลยนะครับผม อิอิ ตามที่ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ในช่วงสมัยก่อนเค้าเรียกขาน และเรียกหากันแบบนี้นะจร้า กราบสาธุ สาธุ สาธุ ด้วยนะครับผม
อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ อยู่ให้เย็น พยายามสืบค้น และค้นหาความจริง เกี่ยวกับตำนาน ผ้ายันต์ฯ โบราณ (แบบกระดาษ) ต่อไป! ใครไม่เชื่อ แต่ผมเชื่อ และเชื่อแบบสนิทใจจริงๆ จร้า สุดท้ายโชคดี ค้นพบทั้ง 2 แบบน้าจร้า ทั้งแบบใหญ่ และแบบเล็ก :
จะว่าไปแล้วโลกนี้มีอะไรให้เราทำ และเซอร์ไพรส์เราอยู่ตลอดเวลา และผมเองกราบขอให้ความรู้ และนำความสามารถที่ตัวเอง พอจะรับรู้ และรับทราบ มากราบขอร่วมเป็นส่วนหนึ่ง และเป็นตัวแทนในการถ่ายทอดความรู้ที่ผม มิสเตอร์เฮา รู้ และได้รู้มาตั้งแต่สมัยเด็กๆ มาแชร์ให้กับท่านลูกหลานฯ และท่านลูกศิษย์ฯ ได้ทราบก่อนที่ผมจะไม่อยู่ หรือจากโลกนี้ไปแล้วนะจร้า
“Time เดินมาถึงตอนนี้.....แม้ว่าในอนาคตอันใกล้ หรือไกลนี้ ผมจะไม่ได้อยู่แล้ว (บนโลกใบนี้) แต่ผมเชื่อว่าความรู้ และความจริงในเรื่องเหล่านี้ได้ถูกบันทึก จดเป็นประวัติ ตีเป็นตำรานอกโรงเรียน (หรือ ตำรานอกการเรียนการสอน) เก็บไว้เป็น Record หรือที่เรียกในศัพท์ใหม่ๆ ว่า “ร่องรอยทางดิจิทัล” (Digital Footprint) ให้กับท่านลูกหลานฯ และท่านลูกศิษย์ฯ รุ่นต่อๆ ไปได้เรียนรู้ในตำราวิชาของผมเล่มนี้ (ได้ค่อนข้างสมบูรณ์แบบที่สุดแล้ว) นะครับผม กราบสาธุ สาธุ สาธุ ด้วยนะครับผม