ประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งที่ควรจดจำ เรื่องเล่าที่ทรงคุณค่าซึ่ง "อากู๋สี่" หรืออากู๋จั๊กเซี้ยะ แซ่เฮ้ง (จักเซี้ย แซ่เฮ้ง) ช่วยเล่าให้ฟัง :

ประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งที่ควรจดจำ เรื่องเล่าที่ทรงคุณค่าซึ่ง "อากู๋สี่" หรืออากู๋จั๊กเซี้ยะ แซ่เฮ้ง (จักเซี้ย แซ่เฮ้ง) ช่วยเล่าให้ฟัง :

Arkong231263 3

"อากู๋สี่" หรืออากู๋จั๊กเซี้ยะ แซ่เฮ้ง (จักเซี้ย แซ่เฮ้ง) ท่านช่วยเล่าเกร็ดประวัติเกี่ยวกับศาลเจ้าพ่อกวนอู บริเวณชุมชนชาวตลาดสมเด็จเจ้าพระยา คลองสาน ให้กับผม คุณแม่ และคุณน้าๆ ฟังเพิ่มเติม ซึ่งนับว่าเป็นเกร็ดประวัติของทางศาลเจ้าพ่อกวนอูที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และสร้างความอิ่มเอมใจเป็นที่สุดครับที่ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าวนี้

ArKooSee200863

โดย มิสเตอร์เฮา ขอแบ่งเล่าออกเป็น 4 เรื่องหลักด้วยกัน ได้แก่

1. ประวัติการจัดทำตราประทับขององค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอูนั้น แต่เดิมทำด้วยไม้ และเมื่อผ่านกาลเวลามานานนั้นทำให้เกิดการชำรุด และมีลูกศิษย์อากงท่านเทพเจ้ากวนอูท่านหนึ่ง ท่านชื่อว่า “อาแจ้จวง” กราบขออนุญาตจัดทำถวายแด่องค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอู ซึ่งเป็นตราประทับขององค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอู และยังคงใช้มาจนถึงทุกวันนี้ โดยตราประทับขององค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอู และถาดรองตราประทับขององค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอูนี้นั้นผ่านประวัติศาสตร์ และกาลเวลามานานนับหลายๆ สิบปีเลยทีเดียวครับผม

2. การจัดทำใบเซียมซีของทางศาลเจ้าพ่อกวนอูนั้น แรกเริ่มเลยนั้นจะมีแต่เฉพาะภาษาจีนเพียงภาษาเดียวเท่านั้น และจัดทำด้วยไม้สีออกสีชมพูบานเย็นมีขนาดกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาวประมาณ 6 นิ้ว เป็นบล็อกไม้ เรียงกัน 10 แถว แถวละ 10 เส้น รวมแล้วมีทั้งสิ้น 100 เบอร์ และหลังจากนั้น ใบเซียมซีไม้ดังกล่าวเริ่มเกิดการชำรุด และเสียหายตามกาลเวลา ดังนั้น "อากู๋สี่" หรืออากู๋จั๊กเซี้ยะ แซ่เฮ้ง (จักเซี้ย แซ่เฮ้ง) เลยช่วยเป็นธุระ และช่วยจัดทำชุดใหม่ทดแทน โดยในครั้งนี้ได้จัดทำเป็นแบบกระดาษที่ใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ และได้จัดเพิ่มภาษาไทยเข้ามาเสริมในใบเซียมซีอีก 1 ภาษาครับผม ส่งผลให้ใบเซียมซีที่ใช้อยู่ในศาลเจ้าพ่อกวนอู คลองสานในปัจจุบันนี้จึงมีอยู่ด้วยกัน 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย และภาษาจีนครับผม

ทั้งนี้ ในเรื่องความหมายของใบเซียมซีภาษาจีนนั้น “อากู๋สี่” เป็นคนบริหารจัดการพร้อมกับตรวจเช็คและตรวจสอบอย่างพิถีพิถันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เนื่องจากท่านมีความรู้และเคยเป็นคุณครูสอนภาษาจีนมาก่อน ดังนั้น ในส่วนนี้ท่านจึงให้ความสำคัญ และตรวจสอบความถูกต้องเป็นอย่างดี อีกทั้งท่านยังได้เดินทางไปกราบขอร่วมทำบุญที่ทางศาลเจ้ากวนอู ชั้น 3 สมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย เยาวราช สัมพันธวงศ์ และกราบขออนุญาตนำใบเซียมซีของทางศาลเจ้ากวนอู ชั้น 3 สมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย เยาวราช สัมพันธวงศ์ มาเป็นต้นแบบภาษาไทยในการดำเนินการจัดพิมพ์ และใช้ในศาลเจ้าพ่อกวนอู บริเวณชาวชุมชนตลาดสมเด็จเจ้าพระยา คลองสาน สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้

และได้ให้ทางโรงพิมพ์ไชยยงค์ (กราบขอประทานอภัยถ้าเรียกชื่อโรงพิมพ์ผิด หรือสะกดชื่อโรงพิมพ์ผิด ได้โปรดให้อภัยผมด้วยน้าครับผม) อยู่แถวๆ ตลาดท่าดินแดง ใกล้ๆ กับบ้านอาเหล่าเจ็กท่านหนึ่งที่ทำพลาสติก และคนแถวๆ ตลาดสมเด็จเจ้าพระยา จะรู้จักท่านในนาม “อาเฮียตือพลาสติก” ครับผม

"อากู๋สี่" หรืออากู๋จั๊กเซี้ยะ แซ่เฮ้ง (จักเซี้ย แซ่เฮ้ง) เล่าว่าทางโรงพิมพ์ไชยยงค์ เป็นคนช่วยจัดการแกะบล็อก และจัดการให้ทุกอย่างจนแล้วเสร็จเป็นใบเซียมซี และใช้อยู่ในศาลเจ้าพ่อกวนอูของอากงท่านเทพเจ้ากวนอูที่คลองสานจนมาถึงทุกวันนี้น้าครับผม

3. นอกจากใบเซียมซีภาษาไทยและภาษาจีนที่ "อากู๋สี่" หรืออากู๋จั๊กเซี้ยะ แซ่เฮ้ง (จักเซี้ย แซ่เฮ้ง) ช่วยเป็นธุระ และช่วยจัดการให้แล้วนั้น "อากู๋สี่" หรืออากู๋จั๊กเซี้ยะ แซ่เฮ้ง (จักเซี้ย แซ่เฮ้ง) ยังได้รวบรวมความหมายของใบเซียมซีภาษาจีนของท่านพระโพธิสัตว์กวนอิม (ท่านเจ้าแม่กวนอิม) และท่านพระอริยะสมุทรเทวี (เทียนโหวเซี่ยบ้อ ม่าโจ้ว) "อาหม่าโจ้ว" (ท่านเจ้าแม่ทับทิม) หรือ "ไฮ ตัง ม่า" จัดทำเป็นเล่ม และมอบให้กับทางศาลเจ้าพ่อกวนอู คลองสาน เพื่อใช้ในโอกาสต่อไป โดยหนังสือเล่มดังกล่าวนี้นั้น ผมเองไม่แน่ใจว่ายังอยู่ภายในศาลเจ้าพ่อกวนอู คลองสานหรือไม่ เนื่องจาก "อากู๋สี่" หรืออากู๋จั๊กเซี้ยะ แซ่เฮ้ง (จักเซี้ย แซ่เฮ้ง) ได้มอบให้กับทางศาลเจ้าพ่อกวนอู คลองสาน ในช่วงหลายสิบปีก่อนแล้วครับผม

ArKong210863

และ 4. โมเดลศาลเจ้าพ่อกวนอู ริมน้ำ คลองสานนี้ (หรือกราบขออนุญาตเรียกว่า “เก๋งจีนริมน้ำ”) เป็นอีกหนึ่งประติมากรรมที่ทรงคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง และเป็นโมเดลจำลองที่จัดทำด้วยมือของทาง "อากู๋สี่" หรืออากู๋จั๊กเซี้ยะ แซ่เฮ้ง (จักเซี้ย แซ่เฮ้ง) เอง ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ ความรู้ทางด้านภาษาจีน ความรู้ในเรื่องการเขียนอักษรและเขียนผ้ายันต์ให้แด่องค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอูเผื่อใช้แจกให้กับคณะลูกศิษย์ของอากงท่านเทพเจ้ากวนอู และที่สำคัญ ท่านยังเป็นนักประดิษฐ์และเป็นผู้รอบรู้ในเรื่องงานช่างเป็นอย่างดี เป็นอีกหนึ่งบุคคลที่ทรงคุณค่าเป็นอย่างยิ่งครับผม

โดยโมเดลศาลเจ้าพ่อกวนอู ริมน้ำ คลองสาน (“เก๋งจีนริมน้ำ”) นั้น "อากู๋สี่" หรืออากู๋จั๊กเซี้ยะ แซ่เฮ้ง (จักเซี้ย แซ่เฮ้ง) เป็นคนจัดทำเองทั้งหมด และเคยตั้งโชว์อยู่ภายในศาลเจ้าพ่อกวนอู คลองสานในช่วงหลายปีก่อน แต่ไม่แน่ใจว่าโมเดลศาลเจ้าพ่อกวนอู ริมน้ำ ดังกล่าวนี้ยังคงอยู่ภายในศาลเจ้าพ่อกวนอู คลองสานหรือไม่ แต่โดยส่วนตัวแล้วผมเคยเห็น และชื่นชอบโมเดลดังกล่าวนี้เป็นอย่างมากเลยครับ หรือกัลยาณมิตร และคณะลูกศิษย์อาจจะต้องลองเรียนสอบถามทางพี่ๆ ที่ช่วยดูแลศาลเจ้าพ่อกวนอู คลองสานดูอีกทีว่าโมเดลดังกล่าวนี้ยังอยู่หรือไม่ และตั้งอยู่ในบริเวณใดภายในศาลเจ้าพ่อกวนอู คลองสานน้าครับผม

นับเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งที่ทรงคุณค่าทางจิตใจเป็นอย่างยิ่งเลยน้าครับผม ซึ่งเมื่อผมได้รับฟังแล้วรู้สึกประทับใจเป็นที่สุด และกราบขออนุญาต "อากู๋สี่" หรืออากู๋จั๊กเซี้ยะ แซ่เฮ้ง (จักเซี้ย แซ่เฮ้ง) เพื่อนำมาถ่ายทอดให้คณะลูกศิษย์อากงท่านเทพเจ้ากวนอู และกัลยาณมิตรทราบในโอกาสนี้

อีก 1 เกร็ดประวัติศาสตร์ของทางศาลเจ้าพ่อกวนอู คลองสานที่ทรงคุณค่าเป็นที่สุด

ArKong150863

นอกจากเกร็ดประวัติที่ได้รับทราบจาก "อากู๋สี่" หรืออากู๋จั๊กเซี้ยะ แซ่เฮ้ง (จักเซี้ย แซ่เฮ้ง) แล้ว ยังมีอีก 1 เกร็ดประวัติที่ “คุณน้าชาย” ของผมช่วยเล่าเสริมให้ทราบเมื่อวันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมาเช่นกัน ซึ่งเมื่อได้รับทราบแล้วมิสเตอร์เฮารู้สึกประทับใจเป็นที่สุดเลยครับผม เพราะเป็นคำบอกว่าของผู้ใหญ่ในยุคก่อนหน้า และเล่าให้ “คุณน้าชาย” ของผมฟัง รวมถึงเล่าให้กับลูกศิษย์อากงท่านเทพเจ้ากวนอูท่านอื่นๆ ฟังสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ครับผม

โดยเป็นเกร็ดประวัติที่เล่าสืบต่อกันมา คือว่า มีชาวจีนท่านหนึ่งมาทำงานในประเทศไทยแล้ว ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จ จึงจะเดินทางกลับประเทศจีน และก่อนกลับได้มีโอกาสมากราบสักการะ และกราบขอพรอากงท่านเทพเจ้ากวนอู ที่ศาลเจ้าพ่อกวนอู บริเวณชุมชนชาวตลาดสมเด็จเจ้าพระยา คลองสาน ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่ได้สร้างเป็นศาลเจ้าพ่อกวนอูอย่างเช่นในทุกวันนี้ (ยังคงเป็นศาลดั้งเดิม เป็นศาลเจ้าเล็กๆ) และมีการบนบานศาลกล่าวต่อองค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอู และบอกว่าถ้าทำการค้าประสบความสำเร็จร่ำรวยแล้วจะกลับมาสร้างศาลเจ้าพ่อกวนอูให้กับองค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอู ที่ศาลเจ้าพ่อกวนอู คลองสานดังกล่าวนี้ให้ครับผม

หลังจากนั้นไม่นานชาวจีนท่านดังกล่าวได้เดินทางกลับมาที่ประเทศไทย พร้อมกับได้บริจาคทุนทรัพย์ในการจัดสร้างศาลเจ้าพ่อกวนอู คลองสานขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นศาลเจ้าพ่อกวนอูดังกล่าวในทุกวันนี้ โดยได้ทำตามที่เคยกราบเรียนและบนบานต่อองค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอู และประสบความสำเร็จ ที่สำคัญ ได้นำวัสดุอุปกรณ์การสร้างต่างๆ และไม้เป็นต้นๆ (จากคำบอกว่าของผู้รู้ในช่วงก่อนหน้านั้นบอกว่าทั้งไม้ต้นใหญ่ๆ และวัสดุที่นำมาสร้างศาลเจ้าพ่อกวนอูนั้นนำเข้ามาจากประเทศจีน) มาสร้างศาลเจ้าพ่อกวนอู บริเวณชุมชนชาวตลาดสมเด็จเจ้าพระยา คลองสานครับผม

นับเป็นอีก 1 เกร็ดประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่าเป็นอย่างยิ่งเลยน้าครับผม กราบสาธุ สาธุ สาธุ น้าครับผม อิอิ มิสเตอร์เฮาครับผม

ปล. ถ้า มิสเตอร์เฮา ให้ข้อมูลผิดพลาดประการใดไป ได้โปรดให้อภัยผมด้วยน้าครับผม ผมกราบขอประทานโทษ และกราบขอประทานอภัยมา ณ ที่นี้ด้วยน้าครับผม