การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Green Technology สำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพ ทดแทนก๊าซหุงต้มเพื่อใช้ในครัวเรือน วันที่ 23 ธันวาคม 2563 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องสัมมนา 2 ชั้น 5 อาคารแอดมิน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Green Technology สำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพ ทดแทนก๊าซหุงต้มเพื่อใช้ในครัวเรือน วันที่ 23 ธันวาคม 2563 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องสัมมนา 2 ชั้น 5 อาคารแอดมิน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

WW161163

ปัจจุบันได้มีวิธีการผลิตก๊าซมีเทนจากเศษอาหารหรือน้ำเสียเศษอาหารจากครัวเรือนหรือโรงเรียน เพื่อนำก๊าซมีเทนที่ได้มาใช้ทดแทนก๊าซหุงต้ม ก๊าซมีเทนที่ได้จึงถือเป็นพลังงานฟรีที่สามารถหาได้ในแต่ละครัวเรือนหรือโรงเรียน ซึ่งเป็นการพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ต้องวิตกกังวลกับราคาเชื้อเพลิงในปัจจุบันที่สำคัญยังเป็นการช่วยลดปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในปัจจุบันด้วย

ในอดีตมีการเก็บรวบรวมเศษอาหารเหลือทิ้งไปเป็นอาหารสัตว์ จึงไม่มีปัญหาในการจัดการ แต่ในปัจจุบันจากการเพิ่มขยายของเมืองและประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ไม่มีการเก็บรวบรวมและการจัดการดังกล่าว จำเป็นต้องนำเศษอาหารเหลือทิ้งเหล่านี้ไปทิ้งรวมกับขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทำให้เกิดปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอย น้ำเสียเศษอาหารเป็นสิ่งที่ไม่มีใครนึกถึงว่าสามารถผลิตก๊าซมีเทนได้ ซึ่งในความจริงพบว่าน้ำเสียเศษอาหารสามารถผลิตก๊าซมีเทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มีปัญหาในการจัดการกากตะกอนที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับเศษอาหารที่ต้องมีระบบการจัดการให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ต่อไป

ถังหมักก๊าซชีวภาพ เป็นถังหมักเศษอาหาร ได้แก่ น้ำซาวข้าว น้ำเศษอาหาร โดยจุลินทรีย์ที่มาจากมูลสัตว์ เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียไปเป็นก๊าซชีวภาพ ได้แก่ ก๊าซมีเทน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ทดแทนก๊าซหุงต้ม หรือผลิตไฟฟ้า หรือผลิตความร้อน ถังหมักก๊าซชีวภาพที่ใช้มีขนาด 200 ลิตร มีรูปแบบที่ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และมีค่าใช้จ่ายต่ำ   และเป็นระบบที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้

ทั้งนี้ วว. มีความพร้อมในการจัดฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้ตั้งแต่การสร้างถังหมัก การป้อนเศษอาหาร จนได้ก๊าซชีวภาพ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทดแทนก๊าซหุงต้ม ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอย และได้ผลผลิตที่เป็นพลังงานทดแทน

ผู้สนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เลขที่ 35 หมู่ 3 เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โทร. 0 2577 9489 (คุณพัทธนันท์) ในวันและเวลาราชการ หรือที่ E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

WW161163 2

วัตถุประสงค์

1.         เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในการผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร

2.         เพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการในสร้างถังหมักก๊าซชีวภาพ

3.         เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ในการสร้างเปลี่ยนขยะเศษอาหารเป็นก๊าซหุงต้ม

4.         เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนนำแนวคิดและความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์และปรับใช้ให้เหมาะสมกับชุมชนให้เกิดความยั่นยืนและเป็นชุมชนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในด้านพลังงาน

กลุ่มเป้าหมาย

ประชาชน หรือชุมชนที่สนใจในการสร้างถังหมักก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร เพื่อทดแทนก๊าซหุงต้ม

จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม ไม่เกิน 30 ท่าน/รุ่น

สถานที่ดำเนินการ ห้องสัมมนา 2 ชั้น 5 อาคารแอดมิน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

วิธีการอบรม การบรรยาย และแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ท่าน เพื่อปฏิบัติการผลิตถังหมัก

เนื้อหาหลักสูตร

1.         ความรู้พื้นฐานด้านการประกอบถังหมักผลิตก๊าซชีวภาพ (บรรยาย)

2.         ความรู้พื้นฐานด้านการผลิตก๊าซชีวภาพจากของเหลือทิ้งครัวเรือน (บรรยาย)

3.         สาธิต และอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างถังหมักก๊าซชีวภาพ (ปฏิบัติ)

ผู้บรรยาย

1.         นางพัทธนันท์ นาถพินิจ นักวิจัยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม

(ภาคบรรยาย)

2.         นายบุญเตือน มงคลแถลง นักวิจัยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

(ภาคปฏิบัติ)

3.         นายนรา สุพัฒนโภคา นักวิจัยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

(ภาคปฏิบัติ)

ระยะเวลาอบรม

1 วัน (ช่วงเช้า - บรรยาย ช่วงบ่าย - ฝึกปฏิบัติ)

การประเมินผลหลังดำเนินกิจกรรม

ให้ผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามการจัดกิจกรรมฝึกอบรม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.         ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับรู้ความเข้าใจในการผลิตถังหมักก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร และการป้อนเศษอาหาร เพื่อให้ได้ก๊าซชีวภาพ รวมทั้งมีความเข้าใจในการนำก๊าซชีวภาพมาทดแทนก๊าซหุงต้ม

2.         ผู้เข้าร่วมอบรมได้ตระหนักรู้ถึงการจัดการขยะครัวเรือน และการเพิ่มมูลค่าขยะเศษอาหารโดยการนำไปผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ และนำไปใช้ทดแทนก๊าซหุงต้ม